สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 7-13 กุมภาพันธ์ 2563

 

ข้าว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63และมติที่ประชุม นบข.ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมายรอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และรอบที่ 2จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง (8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
(10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร
(2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
ชนิดข้าว ราคาประกันรายได้ ครัวเรือนละไม่เกิน
(บาท/ตัน) (ตัน)
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 15,000 14
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 16
ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 30
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 11,000 25
ข้าวเปลือกเหนียว 12,000 16
กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ได้สิทธิ์ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด เมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุดและได้สิทธิ์ตามลำดับระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวข้าวแต่ละชนิด
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ ได้ประกาศราคาอ้างอิง งวดที่ 1 - 4 ทุก 15 วัน โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562 สำหรับงวดที่ 5 เป็นต้นไป ได้ปรับการประกาศใหม่เป็นทุกวันศุกร์
(ทุก 7 วัน) เพื่อให้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงมีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวและจำหน่ายข้าว
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
4) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63 จำนวน 26,458.89 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึง
เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
4.1) กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562 กับกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) จำนวนประมาณ 4.57 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวเฉพาะเกษตรกรรายย่อย อัตราไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท โดยพื้นที่เพาะปลูกที่ได้รับการช่วยเหลือต้องไม่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการเยียวยาผู้ประสบภัยธรรมชาติจากรัฐบาลแล้ว เว้นแต่เกษตรกรจะนำพื้นที่ประสบภัยนั้นไปแจ้ง กสก. เพื่อเพาะปลูกข้าวใหม่ทันในช่วงเวลาเพาะปลูกรอบที่ 1
4.2) ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 13,573 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,675 บาท
เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.74
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,891 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,880 บาท
เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.14
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 31,950 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,450 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,410 บาท เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.32
 
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,064 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 32,897 บาท/ตัน)
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 447 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 13,820 บาท/ตัน)
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 440 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 13,604 บาท/ตัน)
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 444 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 13,728 บาท/ตัน)
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.9181
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
ไทย: พาณิชย์ ตั้งเป้าส่งออกข้าวปีนี้ใกล้เคียงกับปีก่อน หลังผลผลิตลดลงจากภัยแล้ง บาทแข็ง เร่งจัดกิจกรรมสร้างความเชื่อมั่นในตลาดโลก
นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในปี 2563 ตั้งเป้าหมายการส่งออกข้าวไว้ที่ปริมาณ 7.5 ล้านตัน ใกล้เคียงจากปี 2562 ไทยส่งออกข้าวปริมาณ 7.58 ล้านตัน ลดลง 32.50% จากปี 2561 ที่มีปริมาณ 11.23 ล้านตัน
เนื่องจากผลผลิตข้าวไทยปีนี้จะลดลงมากจากปัญหาภัยแล้ง รวมถึงค่าเงินบาทแข็งค่ามากกว่าคู่แข่ง โดยเฉพาะเวียดนาม อินเดีย และต้นทุนการผลิตของไทยสูงกว่าคู่แข่งเช่นกัน จนทำให้ราคาข้าวไทยแพงกว่าคู่แข่งมาก และผู้ซื้อหันไปซื้อข้าวจากคู่แข่งแทน อีกทั้งจีน ซึ่งเดิมเคยเป็นผู้นำเข้า แต่ปัจจุบันกลายมาเป็นผู้ส่งออกและแย่งส่วนแบ่งตลาดข้าวไทยในบางประเทศ โดยเฉพาะแอฟริกา เพราะมีสต็อกข้าวปีนี้มากถึงกว่า 120 ล้านตัน รวมถึงข้าวไทยไม่มีความหลากหลายมากพอ ที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าในหลายกลุ่ม จึงทำให้ตลาดข้าวบางชนิดกลายเป็นของคู่แข่งแทน โดยเฉพาะข้าวพื้นนิ่ม
สำหรับในปี 2563 กรมการค้าต่างประเทศยังคงเดินหน้าจัดกิจกรรมตามภารกิจในด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยอย่างต่อเนื่องตามนโยบายของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและ
รมว.พาณิชย์ ทั้งในรูปแบบการจัดคณะผู้แทนการค้าฯ และการเข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและผลักดันการส่งออกข้าวไทย
โดยในปีนี้ กรมฯ มีแผนจัดคณะผู้แทนการค้าฯ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ในประเทศที่เป็นลูกค้าหลัก อาทิ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์ ตลอดจนการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ 1. ภูมิภาคเอเชีย: งาน FOODEX 2020 ณ ประเทศญี่ปุ่น และงาน China – ASEAN Expo (CAEXPO) ครั้งที่ 17 ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน 2. ภูมิภาคยุโรป: งานแสดงสินค้าเกษตรอินทรีย์นานาชาติ BIOFACH 2020 ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และ 3. ภูมิภาคตะวันออกกลาง: งาน GULFOOD 2020 ณ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นอกจากนี้ กรมฯ ยังมีแผนกิจกรรมร่วมกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ในการจัดคณะผู้แทนการค้าฯ เดินทางไปเจรจาธุรกิจในกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพ เช่น แอฟริกาใต้ เป็นต้น โดยกิจกรรมต่างๆ ของกรมฯ จะมุ่งเน้นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์และสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพและมาตรฐานข้าวไทยในตลาดโลก
นายกีรติ กล่าวว่า "กรมการค้าต่างประเทศ ในฐานะคนขายได้ไปพบปะลูกค้าในประเทศต่างๆ ซึ่งได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากลูกค้าโดยเฉพาะกับชนิดข้าวที่ตรงความต้องการของลูกค้า และข้อมูลดังกล่าวได้นำมาขยายผลในการทำสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้อย่างดี จึงได้มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดกับกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย สมาคมโรงสีข้าวไทย และเกษตรกร และได้กำหนดแผนงานเร่งด่วนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อพิจารณาแนวทางการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของข้าวไทย โดยในเบื้องต้นได้นำเสนอแผนการการพัฒนาข้าวไทยเพื่อการแข่งขันทั้งในด้านการผลิต การพัฒนา และการปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวไทยให้ตรงกับความต้องการของตลาดต่างประเทศเพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดี อายุเก็บเกี่ยวสั้น ให้ผลผลิตสูง และต้นทุนการผลิตต่ำ ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ เห็นชอบที่จะจัดตั้งคณะทำงานร่วมภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย กรมการข้าว กรมการค้าต่างประเทศ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยและอาจพิจารณาเชิญสถาบันการศึกษาที่มีการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ข้าวเข้าร่วมในคณะทำงานด้วย ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศ จะเร่งผลักดันการทำงานของคณะทำงานดังกล่าวให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป"
ที่มา: https://www.ryt9.com
 
ไทย: ผู้ส่งออกข้าวหวั่นไทยร่วง “อันดับ 3”
สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยชี้ ปี 63 ไทยอาจร่วงอันดับ 3 ส่งออกข้าวโลก แนะเร่งปรับตัว หลังเวียดนามพัฒนาข้าวพื้นนิ่มชิงส่วนแบ่งตลาดข้าวไทย ขณะที่ปี 62 ส่งออกต่ำสุดในรอบ 6 ปี
ร.ต.ท.เจริญ  เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยเปิดเผยว่า สมาคมประเมินว่า ปี 2563 การส่งออกข้าวไทยจะมีปริมาณ 7.5 ล้านตัน หรือมีมูลค่ามากกว่า 4,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สอดคล้องกับเป้าหมายของกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งปีที่ผ่านมาไทยส่งออกข้าวได้เพียง 7.58 ล้านตัน ลดลงจากปี 2561 ส่งออกได้ถึง 11 ล้านตัน ถือว่าต่ำสุดในรอบ 6 ปี นับจากปี 2556 ที่ส่งออกได้เพียง 6.6 ล้านตัน โดยข้าวที่ส่งออกลดลงมากที่สุด คือ ข้าวขาว และข้าวหอมมะลิ ปัจจัยสำคัญมาจากปัญหาค่าเงินบาทแข็งกว่าประเทศคู่แข่งถึง 40% แม้ขณะนี้เงินบาทจะอ่อนค่าลง แต่กลับทำให้ผู้ซื้อกังวลกับความผันผวนเพราะมีการปรับขึ้น-ลงเร็ว จึงอยากให้ค่าเงินมีเสถียรภาพมากกว่านี้ รวมทั้งคุณภาพข้าวไทยไม่ได้รับการพัฒนามีแต่ข้าวพื้นแข็ง ขณะที่ความนิยมบริโภคข้าวนิ่มมีมากขึ้น ทำให้เป็นสินค้าที่เข้ามาทดแทนข้าวไทยในทุกตลาด นอกจากนี้จีนที่เคยเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ก็กลับมาเป็นผู้ส่งออก
โดยขณะนี้ ภาครัฐเริ่มตื่นตัวพัฒนาพันธุ์ข้าวพื้นนิ่ม ตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และภาคเอกชน อยู่ระหว่างการเริ่มทดลองปลูกจะต้องเร่งให้มีการรับรองพันธุ์ คาดว่าไทยจะมีพันธุ์ใหม่ๆ ออกมาสู่ตลาดได้ แต่ก็คงต้องใช้เวลา 3-5 ปี ถึงจะเข้าถึงตลาดข้าวของไทยได้ ซึ่งในปีนี้คงต้องประคองสถานการณ์ไปก่อน
“สิ่งที่ชาวนากังวล คือ หากปลูกข้าวพันธุ์ใหม่จะขายได้หรือไม่ ราคาดีหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ทุกภาคส่วนต้องเข้ามาช่วย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกร”
นายชูเกียรติ  โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ปีนี้จะเป็นปีที่เหนื่อยของการส่งออกข้าวไทย เพราะมีปัจจัยท้าทายทั้งการแข็งค่าของเงินบาท ภัยแล้ง อีกทั้งประเทศคู่แข่งที่สำคัญ เช่น เวียดนาม
มีการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มข้าวหอม และข้าวพื้นนิ่ม และมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าไทย ทำให้สามารถเสนอขายได้ในระดับที่ต่ำกว่าข้าวไทย ส่งผลให้ไทยสูญเสียส่วนแบ่งตลาดที่สำคัญ เช่น จีน ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย
อีกทั้งเวียดนามยังทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป ทำให้เวียดนามมีโอกาสขยายตลาดส่งออกข้าวไปยังสหภาพยุโรปและในกลุ่มสมาชิกซีพีทีพีพีมากขึ้น เนื่องจากสหภาพยุโรปให้โควตานำเข้าเข้าแก่เวียดนามปีละ 80,000 ตัน ในอัตราภาษี 0%
“ปัจจัยท้าทายต่างๆ ทำให้ปีนี้ไทยอาจส่งออกข้าวมาอยู่อันดับ 3 โดยเวียดนามจะมาอยู่อันดับ 2 และอันดับ 1 อินเดีย ซึ่งก็ถือว่าเป็นปีแรกประวัติศาสตร์เป็นไปได้”
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
 
เวียดนาม
ภาวะราคาข้าวในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากมีความต้องการข้าวจากต่างประเทศ ประกอบกับมีความกังวลเกี่ยวกับพื้นที่เพาะปลูกข้าวที่อาจจะลดลงจากการที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำเค็มรุกเข้าไปในพื้นที่ เพาะปลูกข้าว โดยราคาข้าวขาว 5% ตันละ 355-360 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากตันละ 345 ดอลลาร์สหรัฐฯ
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่วงการค้ารายงานว่า เกษตรกรในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงเก็บเกี่ยวข้าวฤดูใหม่ (winter spring crop) แล้ว ประมาณ 30% ของพื้นที่ และคาดว่าจะมีข้าวออกสู่ตลาดปริมาณสูงสุดในช่วงปลายเดือนนี้
กรมศุลกากรของเวียดนาม (the General Department of Customs) รายงานว่า ในเดือนมกราคม 2563 เวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 560,000 ตัน มูลค่าประมาณ 270.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 และร้อยละ 39 และเมื่อเทียบกับช่วยเดียวกันของปีที่ผ่านมาปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.1 และร้อยละ 38.4
สำหรับปี 2563 ประเทศที่คาดว่าจะยังคงเป็นผู้นำเข้าที่สำคัญคือ ฟิลิปปินส์ ขณะที่ตลาดแอฟริกาคาดว่าจะนำเข้าประมาณ 1 ล้านตัน มาเลเซียประมาณ 500,000 ตัน คิวบาประมาณ 300,000-400,000 ตัน อิรักประมาณ 300,000 ตัน และจีนประมาณ 400,000 ตัน
ทางด้านนาย Do Ha Nam รองประธานสมาคมอาหารเวียดนาม (Vice Chairman of the Vietnam Food Association) คาดว่า ปี 2563 นี้จะยังคงเป็นปีที่ยากลำบากสำหรับการส่งออกข้าวของเวียดนาม เพราะจีนยังคง
จำกัดการนำเข้าข้าว แต่คาดว่าจะมีโอกาสที่จะขยายการส่งออกข้าวไปยังตลาดญี่ปุ่นมากขึ้น เนื่องจากมีความตกลง CPTPP ซึ่งเวียดนามเป็นสมาชิกในกลุ่มนี้ด้วย
ขณะเดียวกัน เกาหลีใต้ได้จัดสรรโควตานำเข้าข้าวจากเวียดนามจำนวน 55,112 ตัน และมีโควตาทั่วไป
สำหรับทุกประเทศอีก 20,000 ตัน ซึ่งถือเป็นโอกาสในการขยายการส่งออกไปยังตลาดนี้ด้วย
ปี 2562 (มกราคม-ธันวาคม 2562) กรมศุลกากรรายงานว่า เวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 6.37 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 2.81 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 แต่มูลค่าลดลงร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และราคาส่งออกเฉลี่ยที่ประมาณตันละ 440.7 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน
ในปี 2562 ประเทศที่เวียดนามส่งออกข้าวมากที่ใหญ่ คือ ฟิลิปปินส์ ซึ่งเวียดนามส่งออกประมาณ 2.13 ล้านตัน มูลค่า 884.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 109.52 และร้อยละ 92.58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) รองลงมา คือ ไอวอรี่โคสต์ 583,579 ตัน มูลค่า 252.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 111.3 และร้อยละ 6.35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) มาเลเซีย 551,583 ตัน มูลค่า 218.79 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.55 และร้อยละ 0.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) ประเทศจีน 477,127 ตัน มูลค่า 240.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 64.2 และร้อยละ 64.82 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) กาน่า 427,187 ตัน มูลค่า 212.65 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.09 แต่มูลค่าลดลงร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) อิรัก 300,000 ตัน มูลค่า 154.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.03 แต่มูลค่าลดลงร้อยละ 8.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) ฮ่องกง 120,760 ตัน มูลค่า 63.31 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.96 และร้อยละ 25.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน) สิงคโปร์ 100,474 ตัน มูลค่า 53.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.88 และร้อยละ 14.42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน)
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
ปากีสถาน
ในการประชุม the “Pakistan-Africa Trade Development Conference" ซึ่งจัดโดย องค์กรพัฒนาการค้าของปากีสถาน (Trade Development Authority of Pakistan; TDAP) เมื่อช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา
อดีตประธานสมาคมผู้ส่งออกข้าวปากีสถาน (the Rice Exporters Association of Pakistan; REAP) ระบุว่า นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2557 ประเทศเคนย่าได้กำหนดอัตราภาษีนำเข้าข้าวจากปากีสถานที่ 35% ขณะที่การนำเข้าจากประเทศอื่นๆ ต้องเสียภาษีอัตรา 75% ดังนั้น เขาจึงต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการพิจารณาเรื่อง ภาษีนำเข้า
ในอัตราพิเศษอีกครั้งเพื่อทำให้ปากีสถานส่งออกข้าวไปยังประเทศเคนย่าได้มากขึ้น
ทั้งนี้ ในปัจจุบัน เคนย่าถือเป็นผู้ซื้อข้าวรายใหญ่ที่สุดของปากีสถาน โดยปากีสถานส่งออกข้าวไปยังเคนย่า
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด
นอกจากนี้ เขายังเสนอให้เคนย่าจัดตั้งหน่วยงานที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการส่งออกข้าวปากีสถานไปยัง
เคนย่าให้มากขึ้นด้วย
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ 
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.70 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 7.76 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.02 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.04 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  8.50 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.49 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.11 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.15 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.49
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 277.25 ดอลลาร์สหรัฐ (8,572 บาท/ตัน) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 21 บาท (8,551 บาท/ตัน)  
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2563 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 381.35 เซนต์ (4,706 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 380.36 เซนต์ (4,683 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 23 บาท

 
 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2563 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.75 ล้านไร่ ผลผลิต 31.104 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.56 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2562ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.67 ล้านไร่ ผลผลิต 31.080 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.59 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต สูงขึ้นร้อยละ 0.93 และร้อยละ 0.08 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ลดลงร้อยละ 0.84 โดยเดือนกุมภาพันธ์2563 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 6.43 ล้านตัน (ร้อยละ 20.68 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2563 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2563 ปริมาณ 17.63 ล้านตัน (ร้อยละ 56.68 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
มันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น และส่วนใหญ่ไหลเข้าสู่โรงงานแป้งมันสำปะหลัง เนื่องจากลานมันส่วนใหญ่ไม่ตากมันเส้น เพราะราคามันเส้นไม่คุ้มกับการดำเนินการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.94 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.92 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.04
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.21 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.15 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.17
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.95 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.65 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 12.59 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.48
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 233 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,204 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (7,050 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 443 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,697 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (13,663 บาทต่อตัน)

 
 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2563 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกุมภาพันธ์จะมีประมาณ 1.371 
ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.247 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.325 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.239 ล้านตัน ของเดือนมกราคม คิดเป็นร้อยละ 3.47 และร้อยละ 3.35 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.19 บาท ลดลงจาก กก.ละ 5.93 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ร้อยละ 12.48                                   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 34.81 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 33.55 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ร้อยละ 3.76                       
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
มาเลเซียจะไม่มีการฟ้องร้องเรื่องที่สหภาพยุโรปวางแผนที่จะเลิกใช้ปาล์มน้ำมันในการผลิตไบโอดีเซลภายใน
ปี 2024 กับ WTO โดยรัฐมนตรี Teresa Kok ได้กล่าวกับคณะกรรมการพลังงานของ EU Kadri Simson ว่าปาล์มน้ำมันของมาเลเซียไม่กระทบสิ่งแวดล้อม ตามที่อ้างไว้ภาคการบริโภคของ EU ลดลงในอัตราคงที่ ราคาพลังงาน (ไบโอดีเซล) มีการใช้เพิ่มขึ้น อินเดียผู้ซื้อรายใหญ่จำกัดการซื้อจากมาเลเซีย หลังจากมาเลเซียวิจารณ์การทำงานของรัฐบาลอินเดียในรัฐแคชเมียร์ และการบังคับใช้กฎหมาย New citizenship แต่คาดว่าการเสียภาษีนำเข้าของอินเดียจะใช้ไม่ได้
ในระยะยาวเมื่อเทียบกับความต้องการของคนอินเดีย
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,793.78 ดอลลาร์มาเลเซีย (21.38 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 2,759.95 ดอลลาร์มาเลเซีย (21.20 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.23       
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 748.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23.46 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 773.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23.75 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.17  
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ 
          รายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ
          ศูนย์บริหารการผลิต สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้รายงานการเก็บเกี่ยวอ้อย และการผลิตน้ำตาลทรายประจำปีการผลิต 2562/63 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2562 จนถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 ว่ามีอ้อยเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้ำตาลไปแล้วจำนวน 65,182,869 ตัน แยกเป็นอ้อยสด 32,667,007 ตัน (ร้อยละ 50.12) และอ้อยไฟไหม้ 32,515,862 ตัน (ร้อยละ 49.88) ผลิตเป็นน้ำตาลได้ 6,998,697 ตัน แยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 5,473,950 ตัน  และน้ำตาลทรายขาว 1,524,747 ตัน ค่าความหวานของอ้อยเฉลี่ย 12.54 ซี.ซี.เอส. ผลผลิตน้ำตาลทรายเฉลี่ยต่อตันอ้อย 107.37 กก.ต่อตันอ้อย
 
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ


 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ความต้องการใช้ถั่วเหลืองของจีน
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ รายงานว่า ในปี 2562/63 จีนคาดการณ์นำเข้าถั่วเหลืองจำนวน 88 ล้านตัน
ซึ่งเพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบกับปี 2561/62 เนื่องจากมีความต้องการใช้เพื่อสกัดน้ำมันเพิ่มขึ้น โดยความต้องการใช้เพื่อสกัดน้ำมันในปี 2562/63 คาดว่าจะอยู่ที่ 86 ล้านต้น เพิ่มขึ้น 1% เมื่อเทียบปี 2561/62 ในขณะที่สต็อกสิ้นปีเพิ่มขึ้น 11% อยู่ที่ 21.7 ล้านตัน  
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 887.9 เซนต์ (10.23 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 877.96 เซนต์ (10.09 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.13
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 291.22 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.12 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 288.98 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.78
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 30.81 เซนต์ (21.29 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 30.70 เซนต์ (21.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.36 

 

 
ยางพารา

 

 
สับปะรด



 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.25 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 25.83 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.63
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 31.20 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.00 บาท เพิ่มขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 41.20 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.37
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,001.50 ดอลลาร์สหรัฐ (30.96 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ1,003.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.96 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 904.00 ดอลลาร์สหรัฐ (27.95 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 906.20 ดอลลาร์สหรัฐ (27.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,034.00 ดอลลาร์สหรัฐ (31.97 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,042.80 ดอลลาร์สหรัฐ (32.16 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.84 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.19 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 643.50 ดอลลาร์สหรัฐ (19.90 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 645.20 ดอลลาร์สหรัฐ (19.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,417.50 ดอลลาร์สหรัฐ (43.83 บาท/กิโลกรัม) เพิ่มขึ้นจากตันละ 1,362.20 ดอลลาร์สหรัฐ (42.01 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.06 และเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.82 บาท  


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน  
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.57 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนมีนาคม 2563 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 68.10 เซนต์(กิโลกรัมละ 47.06 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 67.42 เซนต์ (กิโลกรัมละ 46.48 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.01และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.58 บาท
 
 

 
ไหม
 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,770 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,792 บาทจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.23
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,424 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,462 บาทจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.60
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 850 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 783 บาท    จากสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 8.56

                
 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรยังคงอย่างต่อเนื่อง จากการบริโภคภายในประเทศและมีการส่งออกสุกรสดและผลิตภัณฑ์ไปยังต่างประเทศได้มากขึ้น  แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  72.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.06 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.19 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 69.77 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.79 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 75.73 บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 70.52  บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,300 บาท (บวกลบ 70 บาท) ลดลงจากตัวละ 2,600 (บวกลบ 76 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 11.54    
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 72.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.76
 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดมาก ขณะที่ความต้องการบริโภคมีไม่มากนัก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 39.06 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.41 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.89 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 39.40 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.60 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.50 บาท  และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไข่ไก่

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
สัปดาห์นี้สถานการณ์ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภคไข่ไก่   แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 275 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 307 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 275 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 267 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 291 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 337 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 335 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.60 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 355 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 340 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 315 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 370 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ  
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 91.32 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 91.30 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.06 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 86.49 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 92.88 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.86 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 68.65 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 68.21 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.65 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.38 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.46 ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

 
 

 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 7 – 13 กุมภาพันธ์ 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.05 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 14.95 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.48 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 82.93 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.55 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.12 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 140.93 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.81 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 136.67 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.33 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.50 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 88.62 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 19.12 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.00 บาท ราคา ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา